เมือกหอยทากคืออะไร
เมือกหอยทาก คือสารคัดหลั่งของหอยทากที่ผลิตมาเพื่อประโยชน์ สำหรับการปกป้องผิวของหอยทาก ทั้งในขณะเคลื่อนที่และพื้นผิว ที่สัมผัสกับอากาศตลอดเวลาซึ่งเมือกหอยทากนี้จะปกป้องส่วนที่สัมผัส พื้นดินในเวลาเคลื่อนที่ ลดแรงเสียดทานเหมือนเป็นการปูพรมขณะเดิน ที่สำคัญเมือกที่ผลิตออกมายังช่วยสมานแผลบนเนื้อเยื่อของมันเองที่เกิด การขูดขีดเสียดสีกับพื้นผิวขรุขระ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเปลือกของหอยทาก ได้รับความเสียหายแตกออก หอยจะใช้น้ำเมือกในส่วนของแมนเทิล (Mantle) ที่อยู่ในชั้นถัดจากฝากระดองหอย ซึ่งถือเป็นเมือกหอยทาก ส่วนที่ดีที่สุดมาช่วยซ่อมแซมและสร้างเปลือกใหม่ให้ตัวเอง แสดงให้เห็น ถึงพลังแห่งการฟื้นฟูของเมือกหอยทากอย่างน่าอัศจรรย์
หอยทากสายพันธุ์ไทย... สายพันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับผิวของคนไทย และคนเอเชีย
ศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าหน่วย
ปฏิบัติการวิจัย
ซิสเทมาติกส์ของสัตว์และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหอยและทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องเมือกหอยทากมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี
กล่าวว่า
หอยทากสายพันธุ์ไทยมีอยู่ 600 กว่าสายพันธุ์ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าหอยทากสายพันธุ์
จากต่างประเทศ
เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญเชื้อโรคในเขตร้อน จึงมีสารที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค
ที่มีความหลากหลายได้ดีกว่า
และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเมือกหอยทากพบว่าเมือกหอยทาก
สายพันธุ์ไทยมีสารสำคัญที่ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าเมือกหอยทากสายพันธุ์ต่างประเทศถึง 30 เท่า